ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557


แพคเกจไฟล์ภาษาไทยสำหรับ Joomla 2.5.5 (ใช้ได้กับ Joomla 2.5.6) ออกมาแล้วครับ โดยชุดไฟล์ภาษาไทยนี้ ทางทีมจูมล่าลายไทย (JoomlaCorner) ภายใต้การสนับสนุนจากบริษัท มาร์เวลิค เอ็นจิ้น จำกัด สำหรับท่านที่ได้ติดตั้งภาษาไทยเวอร์ชั่น 2.5.4 ไว้แล้ว ระบบจะแจ้งเตือนว่าไฟล์ภาษามีการอัพเดด ท่านแค่ทำการคลิกเพื่ออัพเดดก็จะติดตั้งไฟล์ภาษาไทยชุดนี้ได้ทันที
นอกจากนี้ในส่วนของระบบวันที่ จะถูกเปลี่ยนเป็น ปีพุทธศักราช โดยเปลี่ยนจากตัวเลขไทยเป็นเลขสากล แทน เช่น 20 มิถุนายน 2555  ในส่วนของคำแปลนั้น ยังมีอีกหลายส่วนที่ยังไม่ได้แปล หากสมาชิกท่านไทยสนใจจะอาสาช่วยกันแปลแล้วส่งกลับมาให้ทีมงาน ก็จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ อีกจำนวนมากครับ ลำพังทีมจูมล่าลายไทย เองมีงานในส่วนอื่นๆ ที่ต้องทำร่วมกับทีมพัฒนาจูมล่าอีกมาก เพื่อพัฒนาออกมาแจกจ่ายให้ทุกท่านได้ใช้งานกัน

สำหรับการทดลองติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเอง ผมจะแบ่งเนื้อหาออกเป็นขั้นตอนตามนี้ ให้ทำตามขั้นตอนต่างๆ ไปตามลำดับได้เลยครับ
1. จำลองเครื่องของเราเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วย Appserv
2. ดาวน์โหลด Joomla 2.5 พร้อมภาษาไทยสำหรับรุ่นนี้
3. ทำการติดตั้ง Joomla 2.5 แบบ Local
จำลองเครื่องของเราเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วย Appserv 
โปรแกรม Joomla 2.5 จะเป็นโปรแกรมที่ทำงานทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ หรือต้องติดตั้งลงในพื้นที่ทำเว็บไซต์นั่นเอง จะเป็นเว็บไซต์ฟรีหรือที่ได้เช่าไว้ก็ตาม แต่ถ้าต้องการติดตั้งลงคอมพิวเตอร์ของ เรา จะต้องติดตั้งโปรแกรมเพื่อจำลองคอมพิวเตอร์ของเราให้มีการทำงานเหมือนเซิร์ฟเวอร์บนอินเตอร์เน็ตเสียก่อน ด้วยการติดตั้งโปรแกรม Appserv (ยังมีอีกหลายโปรแกรมให้เลือก)
การดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม Appserv 
โปรแกรม Appserv มีหลายรุ่นให้เลือกใช้งาน ให้เลือกรุ่น 2.5.10 ขึ้นไป ซึ่งจะรองรับการใช้งานกับ Joomla 2.5 ต่ำกว่านั้นใช้ไม่ได้ (พวกรุ่น 2.5.5)
อ่านการติดตั้งโปรแกรม Appserv 2.5.10 อย่างละเอียดคลิกที่นี่
ในเว็บอย่างน้อยก็ต้องมีบทความนี้ ซึ่งเป็นบทความแบบไม่มีหมวดหมู่เช่นกัน นอกเสียจากว่า จะเป็นบริษัทที่มีสาขาเยอะๆ และต้องการลงข้อมูลของแต่ละสาขา ก็ต้องทำ เกี่ยวกับเราให้ เป็นหมวดหมู่
ตัวอย่างบทความ อนุญาตให้ก็อปปี้ไปฝึกทดลองทำเว็บได้เลยครับ

นายสุทธิพงษ์  อินทะมาตร
เกิดวันที่21 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2540
บ้านเลขที่ 7ม.9 บ.ห้วยบอลพัฒนา ต.นาสวรรค์ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ
เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2
Joomla เป็นโปรแกรมสร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปเหมาะสำหรับการสร้างเว็บไซต์ทุกรูปแบบ โดยเฉพาะเว็บไซต์ขนาดใหญ่ มีเนื้อหามาก และซับซ้อน ปัจจุบัน Joomla ได้พัฒนามาถึงรุ่น 2.5.x แม้จะมีรุ่นต่างๆ ก่อนหน้านี้แยกย่อยหลายรุ่นให้เลือก แต่เหล่ากูรูหลายๆ ท่านต่างแนะนำให้ใช้รุ่นนี้สำหรับท่านใดที่กำลังเริ่มต้นฝึกสร้างหรือกำลังจะสร้างเว็บไซต์ด้วย Joomla
นางสาวสมลักษณ์ มุงวงษา
เกิดวันที่ 8 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2539
บ้านเลขที่ 45 ม.9 บ.ห้วยบอลพัฒนา ต.นาสวรรค์ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ
เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2

นางสาว จิรปรียา  ลาไธสง

เกิดเมื่อวันที่ 31 เดือน ธันวาคม  พ.ศ.2539
บ้านนาเจริญ บ้านเลขที่ 11/4 ต.คำนาดี อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ
เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2

รายชื่อสมาชิก
1.นางสาว จิรปรียา ลาไธสง
2.นางสาว สมลักษณ์ มุงวงษา
3.นาย สุทธิพงษ์ อินทะมาตร
จากความรู้ที่ได้รับ ของภาษาjoomla เช่นการติดตั้งภาษาjoomla การสร้างโปรแกรมด้วยภาษาjoomla  ได้รู้จักประวัติของภาษาjoomlaและได้รู้จักการทำงานของภาษาjoomla


ตัวอย่างการสร้างหมวดหมู่ใน Joomla 2.5 ให้กับบทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกัน กล่าวถึงเรื่องเดียวกัน เพื่อจัดบทความให้เป็นระเบียบ
1. คลิก Content>>Category Manager>>Add New Category
2. พิมพ์ข้อมูลลงไป ใช้การก็อปปี้ข้อมูลตัวอย่างของผมลงไปเลยก็ได้ ง่ายดีที่สุด
3. กรณีทำเว็บภาษาไทย ต้องมีชื่อหมวดหมู่เป็นภาษาไทย (Title) มีชื่อหมวดเป็นภาษาอังกฤษ (Alias) แปลจากไทยเป็นอังกฤษ อาจจะใช้การแปลใน Google แปลภาษาก็ได้
4. ตัวอย่างข้อมูลที่ปรับแต่งเรียบร้อยแล้ว
5. เสร็จแล้ว ก็คลิก Save & Close

6. ตัวอย่างการสร้างหมวดหมู่ที่เหลือ ปฏิบัติคล้ายๆ กัน
กำเนิดขึ้นในวันที่ 17 สิงหาคม 2005 ด้วยการแยกตัวของกลุ่มนักพัฒนาหลักในโปรเจ็กต์แมมโบ้ ( Mambo ) ซึ่งเป็น CMS ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในสมัยนั้น ออกมาสู่โปรเจ็กต์ใหม่ที่ชื่อJoomla! แมมโบ้เป็นเครื่องหมายทางการค้าของบริษัท Miro International Pty Ltd. ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งองค์กรพัฒนาโปรเจ็กต์ CMS ที่ไม่หวังผลกำไรที่ชื่อว่า Mambo ขึ้นมา สาเหตุที่ทำให้กลุ่มนักพัฒนาหลักของโปรเจ็กต์แมมโบ้แยกตัวกันออกมาก็คือ ความไม่ชัดเจนของวิสัยทัศน์เรื่องลิขสิทธิ์ทางเครื่องหมายการค้าจากทาง Miro ซึ่งหวั่นเกรงกันว่าจะกระทบถึงแนวคิดในการพัฒนาแบบ Open Source ได้ ทีมนักพัฒนาโปรแกรมที่แยกตัวออกมา

เริ่มต้นด้วยการสร้างเว็บไซด์ที่ชื่อว่า OpenSourceMatter.org ขึ้นมา เพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารออกไปสู่กลุ่มผู้ใช้งาน นักพัฒนาโปรแกรม นักออกแบบเว็บไซด์ และสังคมออนไลน์ต่างๆ นำทีมโดย Andrew Addie หรือที่ใช้ชื่อออนไลน์ว่า " MasterChief " ซึ่งได้เขียนจดหมายขึ้นมาและส่งเข้าไปยังเว็บกลุ่มสังคมออนไลน์เดิมของ Mambo คือที่ Mambo Server.com หลังจากนั้นผู้คนหลายพันคนก็แห่กันเข้ามาสมัคร เข้าสู่ฟอรั่มของ OpenSourceMatter.org ภายในวันเดียว พร้อมกับเขียนข้อความให้กำลังใจกับทีมงานพัฒนากลุ่มนี้ และจะสนับสนุนการทำงานของทีมพัฒนากลุ่มนี้ต่อไปอีกด้วย เหตุการณ์ในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นข่าวใหญ่ในวงการอินเทอร์เน็ตข่าวหนึ่งเลย ทีเดียว สำนักข่าวไอทีออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น newsforge.com, eweek.com, และ ZDNet.com เป็นต้น ต่างก็นำเสนอข่าวนี้ จนกระทั่งผู้จัดการใหญ่ของบริษัท Miro ต้องออกมาตอบคำถามต่อสาธารณชนด้วยบทความที่มีชื่อว่า " The Mambo Open Source Controversy-20 Questions With Miro "

          อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ข้างต้นนี้ก็ได้ปลุกเร้าให้สังคม Open Source ทั่วโลกได้ตื่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อปกป้องสิทธิ์แห่งความเป็น " Open Source " ที่แท้จริงเอาไว้ ในวันที่ 1 กันยายน 2005 ประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากเหตุการณ์แยกตัวของทีมพัฒนาโปรแกรมหลัก Eddie ก็ได้ประกาศการร่วมสร้างองค์กรและสังคมออไลน์กันใหม่ เพื่อสร้างสรรค์ไปสู่ความก้าวหน้าของ CMS แบบ Open Source ที่แท้จริงโดยได้ใช้ชื่อโปรเจ็กต์ใหม่ว่า " Joomla! " ซึ่งออกเสียงภาษาอังกฤษว่า " Jumla " ( จุมลา ) มาจากภาษาสวาฮิติ ( Swahiti ) ที่มีความหมายว่า " ด้วยกันทั้งหมด " หรือ " ร่วมกันทั้งหมด " และในการประกาศโปรเจ็กต์ใหม่นี้ก็มีนักพัฒนาโปรแกรมกว่า 3,000 คน ประกาศเข้าร่วมมือกันทันที Joomla! เปิดตัวเวอร์ชันแรก ( Joomla 1.0.0 ) ในวันที่ 16 กันยายน 2005 ซึ่งเป็นการนำซอร์สโค้ดของแมมโบ้เวอร์ชัน 4.5.2.3 มาใส่ชื่อ Joomla!ลงไป พร้อมทั้งแก้ไข bug และเพิ่มเติมคุณสมบัติทางด้านการรักษาความปลอดภัยบางอย่างเข้าไป นับจากวันนั้น Joomla! ก็ได้อัปเดตตัวเองสู่เวอร์ชันใหม่เรื่อยมา ส่วนเวอร์ชันที่พัฒนาขึ้นใหม่เพื่อก้าวไปสู่ความเป็น Joomla! เองโดยไม่อิงอยู่กับรูปแบบจาก Mambo อีกต่อไปก็เริ่มต้นขึ้นที่เวอร์ชัน 1.5 ซึ่งเปิดตัวขึ้นในวันที่ 22 มกราคม 2551 และพัฒนาแก้ไขในส่วนต่างๆ เรื่อยมา จนมาถึง เวอร์ชันล่าสุดคือ เวอร์ชัน 1.6.1 ซึ่งเปิดตัวขึ้นในไตรมาสแรกของพ.ศ. 2554
          จุมลาถูกแบ่งออกเป็น 3 เวอร์ชันคือ เวอร์ชัน 1.0 ซึ่ง เวอร์ชัน 1.0 คือ การพัฒนามาจาก mambo เวอร์ชัน 1.5 ที่พัฒนาใหม่หมดและ เวอร์ชัน 1.6 ได้ทำการพัฒนาแล้วเสร็จเปิดตัวเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2554

           เวอร์ชัน 1.0 ออกเมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2005 รุ่นล่าสุดคือ 1.0.15 (ณ วันที่ 1 มกราคม 2552)
           เวอร์ชัน 1.5 ออกวันที่ ( 22 มกราคม 2551 ) รุ่นล่าสุดคือ 1.5.22 ( ออกเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 )
           เวอร์ชัน 1.6 ออกเมื่อวันที่ ( 10 มกราคม 2554 ) รุ่นล่าสุดคือ 1.6.1 released ( ออกเมื่อ 7 มีนาคม 2554 )

ทีมงานพัฒนาจุมลา แยกตัวออกมาจากการพัฒนา แมมโบ ซึ่งเป็นระบบจัดการเนื้อหาเว็บที่ได้รับความนิยมอีกตัวหนึ่ง เนื่องจากมีความคิดเห็นไม่ตรงกับบริษัท Miro Corporation ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักและเจ้าของเครื่องหมายการค้า Mambo เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2005

ทางทีมจูมล่าได้ก่อตั้งองค์กรชื่อ Open Source Matters ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการดูแลโครงการพัฒนาจูมล่า รวมถึงสิทธิ์ต่างๆ ในการใช้เครื่องหมายการค้าของจูมล่า ในปี 2010 มีตัวแทนคนไทยคือ คุณอัครวุฒิ ตำราเรียง นายกสมาคมศึกษาและพัฒนาโอเพ่นซอร์ส ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการในการบริหารงานขององค์กรนี้ ซึ่งกรรมการจะมีวาระในการทำงาน 2 ปี
Jumla เป็นภาษาทางแถบแอฟริกา ซึ่งหมายถึง รวมเข้าด้วยกันเป็นหนึ่ง ถ้าเป็นภาษาอังกฤษก็ "All Together" Joomla เป็นระบบบริหารจัดการเว็บไซต์ (Content Management System หรือเรียกย่อว่า CMS) ช่วยให้สามารถจัดการเนื้อหาข้อมูลบนเว็บไซต์ได้สะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งยังมีลูกเล่นต่าง ๆ ที่สามารถเพิ่มเติมในเว็บไซต์ได้อีก อาทิเช่น Poll, Forums
Joomla! มีโปรแกรมประยุกต์แบบพร้อมใช้งานอยู่ภายในมากมาย อาทิ ระบบจัดการบทความและข่าวสาร (News and Article) ระบบจัดการสมาชิก (Member) ระบบสืบค้น (Search) ระบบจัดการไฟล์มีเดียต่าง ๆ (Media) ระบบปฏิทินข่าวกิจกรรม (Calender) ระบบรวมรูปภาพเป็นแกลอรี่ (Web Gallery) ระบบจัดการเอกสาร (Document Management) เป็นต้น จูมลา คือ ทีมงานที่เคยร่วมพัฒนา Mambo แต่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน จึงแยกออกมาพัฒนา CMS ตัวใหม่ในชื่อ Joomla ขณะนี้ความแตกต่างของ Mambo และ Joomla ยังไม่ชัดเจน สำหรับ Joomla รุ่น 1.0.0 เผยแพร่เมื่อ 17 กันยายน 2005 ปัจจุบันไม่เหลือเค้าโครงความเป็น Mambo อีกต่อไปแล้วโดยสิ้นเชิง
Joomla! ก็คือ CMS ที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยภาษาสคริปต์ PHP และ JavaScript ทำงานร่วมกับไฟล์ฐานข้อมูล MySQL และภาษาจัดการข้อมูล XML เป็นระบบจัดการข้อมูลของเว็บไซด์ที่อยู่ในรูปแบบของ Web portal เป็นหลัก พร้อมกับความสามารถปรับแต่งให้แสดงผลในรูปแบบของ บล็อก ( Blog ) เว็บบอร์ด ( Webboard ) และร้านค้าออนไลน์ ( Online Shopping Cart ) ได้โดยง่ายดาย Joomla! เป็น CMS แบบซอฟต์แวร์เสรีภายใต้ลิขสิทธิ์แบบ GNU/GPL สามารถนำไปใช้งานและดัดแปลงการใช้งานได้ฟรี สามารถนำไปสร้างเป็นเว็บไซด์บนอินเทอร์เน็ต หรือเว็บไซด์ภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับได้ทั้งเว็บไซด์ส่วนตัวแบบง่ายๆ ไปจนถึงเว็บไซด์ขององค์กรที่ให้บริการเว็บแอปพลิเคชันที่ซับซ้อน
อ้างอิง : http://th.wikipedia.org/จูมลา

โปรเจคต์จูมล่าและทีมหัวหน้าฝ่ายผลิต มีความยินดีที่จะแจ้งให้ท่านทราบว่าขณะนี้ได้ปล่อยจูมล่า 3.3.4 แล้ว โดยครั้งนี้เป็นการปล่อยเวอร์ชันความปลอดภัย (Security release) ในบรรดาซีรีส์ 3.x ของจูมล่า CMS โดยรุ่นนี้ได้ทำการแก้ไขช่องโหว่ 2 จุด และได้แก้ไขสำหรับ Joomla 3.2.5 ด้วยเช่นกัน สำหรับผู้ที่ยังใช้งานเวอร์ชั่นนี้อยู่
หากคุณกำลัง ใช้ Joomla บนเซิร์ฟเวอร์ ที่มีการติดตั้ง PHP 5.3.10 หรือสูงกว่า จะสามารถปรับปรุงเป็นรุ่น Joomla! 3.3.4 ผ่านการอัพเดทหลังบ้านของระบบติดตั้งอัตโนมัติของ Joomla! ได้ทันที 

Joomla 3.3.4 Security Released
โปรเจคต์จูมล่าและทีมหัวหน้าฝ่ายผลิต มีความยินดีที่จะแจ้งให้ท่านทราบว่าขณะนี้ได้ปล่อยจูมล่า 3.3.4 แล้ว โดยครั้งนี้เป็นการปล่อยเวอร์ชันความปลอดภัย (Security release) ในบรรดาซีรีส์ 3.x ของจูมล่า CMS โดยรุ่นนี้ได้ทำการแก้ไขช่องโหว่ 2 จุด และได้แก้ไขสำหรับ Joomla 3.2.5 ด้วยเช่นกัน สำหรับผู้ที่ยังใช้งานเวอร์ชั่นนี้อยู่
หากคุณกำลัง ใช้ Joomla บนเซิร์ฟเวอร์ ที่มีการติดตั้ง PHP 5.3.10 หรือสูงกว่า จะสามารถปรับปรุงเป็นรุ่น Joomla! 3.3.4 ผ่านการอัพเดทหลังบ้านของระบบติดตั้งอัตโนมัติของ Joomla! ได้ทันที หรือจะเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ http://www.joomla.org/download.html
นอกจากนี้แล้ว ถ้าอยากจะอัพเดทตรงๆเป็นเวอร์ชัน 3.3.4 ผ่าน core update component ท่านจะต้องกำลังใช้จูมล่า 3.2.2 หรือเวอร์ชันหลังจากนั้นอยู่ เนื่องจากมี PHP เวอร์ชันที่รองรับ raised minimum รวมทั้งมีระบบอัพเดทที่ไม่รองรับการตรวจเวอร์ชัน PHP ในการปล่อยครั้งก่อนๆ อย่างไรก็ตาม สำหรับเวอร์ชัน 3.x อื่นๆนอกเหนือจากที่กล่าวมา ต่างพร้อมที่จะอัพเดทเป็นเวอร์ชัน 3.2.5 ก่อนที่จะอัพเดทอีกครั้งเป็น 3.3.4

มีอะไรบ้างใน 3.3.4?

เนื่องจากมีการย้ายจาก JoomlaCode ไปเป็น Joomla! Issue Tracker แทนในฐานะที่เป็น tracking issue platform จึงยังไม่มีรายการ tracker issue ที่แน่ชัดในขณะนี้ สามารถดู code diff ได้ที่ https://github.com/joomla/joomla-cms/compare/3.3.3...3.3.4 ซึ่งมีลิงค์ไปยัง tracker item เกือบทั้งหมดที่แก้ไขแล้วในช่วงการปล่อยนี้